ชื่อโครงงาน โครงงานบรูณาการเศรษฐกิจพอเพียง"เมี่ยงคำเมืองตาก"
ที่มาและความสำคัญ
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตมีหลายประการอย่างเช่น การหายใจ การเคลื่อนไหว การรับรู้ความรู้สึกและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานอาหาร ในชีวิตของเราตั้งแต่เป็นทารกเราก็ต้องการอาหารเมื่อเราโตมาเราก็ยังต้องการอาหารส่วนใหญ่เราก็จะต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่จึงจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น 1.คาร์โบไฮเดรต 2.โปรตีน 3.เกลือแร่ 4.วิตามิน 5.ไขมัน ที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงและเจริญเติบโต ด้วยเหตุนี้เราจึงเลือกเมี่ยงคำเพราะเมี่ยงคำมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเราและสมุนไพรในเมี่ยงคำยังช่วยสร้างสมดุลภายในร่างกายของเราอีกด้วย เมี่ยง เต้าเจี้ยว บางทีก็เรียกกันว่า เมี่ยงคำเมืองตาก หรือ เมี่ยงจอมพล ที่เรียกว่าเมี่ยงจอมพลเนื่องจาก ในอดีตทุกครั้งที่ จอมพลถนอม กิตติขจร มาเมืองตาก จะต้องไปกินเมี่ยงชนิดนี้ที่ร้านคุณป้าคนหนึ่งเป็นประจำ จนชาวบ้านพากันเรียก ''เมี่ยงจอมพล”
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเป็นการอนุรักษ์เมี่ยงคำที่เป็นอาหารพื้นเมืองของ จ.ตาก
2.เพื่อศึกษาสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการของสมุนไพรที่อยู่ในเมี่ยงคำ
3.เพื่อศึกษาการทำโครงงานเมี่ยงคำเมี่ยงคำเมืองตาก
4.เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
ประโยชน์ของเมี่ยงคำ
คุณค่าทางโภชนาการ
ส่วนประกอบของเมี่ยงคำ
1.ใบชะพลู 2.มะพร้าว 3.มะนาว 4.ถั่วลิสง
5.พริกขี้หนู 6.น้ำเต้าเจียว 7.ขิง 8.กระเทียม
ประเภทของสารอาหาร
|
ส่วนประกอบของเมี่ยงคำ
|
โปรตีน
|
คาร์โบไฮเดรต
|
วิตามิน
|
ไขมัน
|
ใบชะพลู
| | |
✔
| |
มะพร้าว
| | |
✔
|
✔
|
มะนาว
| | |
✔
| |
ถั่วลิสง
|
✔
| | | |
พริกขี้หนู
| | |
✔
| |
น้ำเต้าเจียว
|
✔
| | | |
ขิง
| | |
✔
| |
กระเทียม
| | |
✔
| |
| | | | | |
คุณค่าทางอาหาร
สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ จากการวิจัยของทีมวิจัยสถาบันวิจัยโภชนาการพบว่า ถ้ากินเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง แล้วคนคนหนึ่งจะกินประมาณ ๘ คำ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักของเมี่ยงคำเป็น ๑๐๐ กรัม หรือ ๑ ขีด ดังนั้นคุณค่า ทางโภชนาการของเมี่ยงคำที่นำเสนอในตารางประกอบข้างต้น เป็นคุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ ต่อ ๑๐๐ กรัม หรือเท่ากับเมี่ยงคำ ๘ คำ เมี่ยงคำจึงจัดว่าเป็นอาหารว่างพลังงานสูงทีเดียว กิน ๘ คำ ให้พลังงาน ๓๒๐ กิโลแคลอรี ทั้ง นี้พลังงานส่วนใหญ่มาจากไขมัน ซึ่งได้จากมะพร้าวคั่ว และน้ำตาลในน้ำเมี่ยงคำ ปริมาณไขมันที่ได้จาก เมี่ยงคำ ๘ คำ ๑๖.๙ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของปริมาณไขมัน ที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน ส่วนปริมาณโปรตีนจำนวน ๘.๔ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๑๗ ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน นอกจากนี้สิ่งที่ได้จากการกินเมี่ยงคำ คือ ใยอาหารจะได้ค่อนข้างดี คือ ๗.๓ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของ ปริมาณใยอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน ปริมาณโคเลสเตอรอลจัดว่ามีไม่สูง โคเลสเตอรอลมาจาก กุ้งแห้งและกุ้งแห้งป่น ในน้ำเมี่ยงคำ ปริมาณโซเดียม ๔๔๑ มิลลิกรัม ที่มีอยู่ในเมี่ยงคำ ๘ คำ จัดว่าสูง ปานกลาง ซึ่งจะได้จากกะปิ และน้ำปลา ส่วนปริมาณแคลเซียม ๙๒ มิลลิกรัมและปริมาณเหล็ก ๓.๑ มิลลิกรัม ก็ถือว่ามีอยู่ไม่สูงนัก
โดยสรุปแล้วเมี่ยงคำเป็นอาหารว่างไทยที่ควรให้ความสนใจ ควรกลับมาบริโภคกัน เพราะนอกจากให้ประโยชน์ ทั้งคุณค่าสารอาหารแล้ว ยังได้ประโยชน์จากสารพฤกษเคมีจากพืชสมุนไพร เช่น ขิง มะนาว หอมแดง ใบชะพลู ซึ่งทางทีมวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ คงจะมีโอกาสนำมาเสนอในภายหน้า
ขั้นตอนการทำ 1. วางเเผน
2.แบ่งงานกันทำ
3.รวบรวมข้อมูล
4.เรียบเรียงข้อมูล
5.เสนอให้ครูตรวยสอบ
6.เเก่ไขข้อมูล
7.นำเสนอโครงงา
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างสำหรับคนในราชนิกุลสมัยก่อน เพราะเครื่องเคียงที่นำมาปรุงนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ฝีมือในการหั่น การซอย และการจัดเรียงที่ประณีตทั้งสิ้นตามที่ได้อ่านจากประวัติความเป็นมาว่าในสมัยก่อนจะมีข้าราชบริพารในรั้วในวังมากมาย และการที่จะจัดตั้งเครื่องเสวย หรือการจัดอาหารถวายก็พยายามคัดสรรเมนูที่ต้องให้แปลก ใช้ฝีมือประดิดประดอย และต้องอร่อยดังนั้นเมนู เมี่ยงคำ เป็นเมนูที่ได้แสดงออกถึงฝีมือที่ประณีต
สรรพคุณของมะพร้าวในตำรายาไทย
เปลือกต้นสด แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
เนื้อมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ
น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก
น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก ทาผิวหนังแตกแห้ง และใช้ทาผม
กะลา เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต แก้ปากเปื่อย
ประโยชน์ของสารอาหารที่มีในข้าว สารอาหารและ ประโยชน์1. คาร์โบไฮเดรทข้าวมีคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 75-80 ซึ่งอยู่ในรูปแป้ง (Starch) ที่เหลืออีกเล็กน้อยเป็น ซูโครส (Sucrose) และเด็กซ์ตริน (Dextrin) คาร์โบไฮเดรทที่ได้จากข้าวนี้ ร่างกายสามารถย่อยและนำไปใช้เป็นพลังงานได้เกือบทั้งหมด
2. โปรตีน
ในข้าวมีโปรตีนประมาณร้อยละ 7 ซึ่งนับว่าน้อยเนื่องจากคนไทยบริโภคข้างเป็นอาหารหลัก คือบริโภคประมาณวันละ 400 กรัม (ข้าวสาร) ทำให้ได้โปรตีนถึง 28 กรัม โปรตีนในข้าวเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เพราะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ ไลซีน (Lysine) ดังนั้นจึงควรบริโภคข้าวร่วมกับอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งทำให้ได้โปรตีนสมบูรณ์ที่สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ไขมันไขมันที่ได้จากข้าวเป็นไขมันที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีปริมาณกนดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง (Linoleic acid และ Oleic acid) ซึ่งช่วยในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดและช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก ไขมันในเม,ดข้าวนี้เมื่อผ่านกรมมวิธีการขัดสีจะหลุดไปอยู่ในส่วนของรำเกือบหมด มีติดเมล็ดเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้น
4. วิตามิน เกลือแร่วิตามินและเกลือแร่ในข้าว จะอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและที่จมูกข้าวหรือคัพภะ วิตามินที่พบมาก คือ บี 1 บี 2 และไนอาซีน ซึ่งช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท ส่วนเกลือแร่ที่พบในข้าวคือ เหล็ก ซึ่งช่วยในการสร้างเมล็ดเลือดแดง และฟอสฟอรัสที่ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน วิตามินและเกลือแร่ในข้าวจะหลุดออกไปเกือบหมดในระหว่างการขัดสีจนเป็นข้าว เมล็ดข้าว ดังนั้น เพื่อให้ได้วิตามิน และเกลือแร่จากข้าว จึงควรเลือกบริโภคข้าว ประเภทข้าวนึ่งก่อนสี หรือข้าวที่ผ่านการขัดสีเพียงเล็กน้อย เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวกล้อง
คุณค่าของถั่วลิสง
ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางการบำรุงร่างกายสูงกล่าวกันที่ช่วยให้มีอายุยืน จนได้รับสมญานามว่า พืชอายุวัฒนะ ถั่วลิสงมีโปรตีนสูงประมาณ ๓๐% จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั้น ปริมาณโปรตีนในถั่วลิสงสูงกว่าในข้าวสาลี ๑ เท่า สูงกว่าข้าว ๓ เท่า เมื่อเทียบกับไข่ไก่ นมวัว เนื้อสัตว์แล้ว ก็ไม่ด้อยกว่ากัน ในถั่วลิสงเป็นโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดชึมไปใช้ได้ง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึง ๙๐% นอกจากนี้ ถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ๘ ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน วิตามิน บี ๒ โคลีน (choline) กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน (Methionine) และวิตามิน เอ-บี-อี-เค แคลเชียม เหล็ก และธาตุอื่นๆ
การบริโภคน้ำมันถั่วลิสงเป็นประจำ จะทำให้โคเลสเตอรอลในตับสลายตัวเป็นกรดน้ำดี (bileacid) ไม่เพียงแต่ลดโคเลสเตอรอลลงเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจของคนในวัยกลางวันและวัยสูงอายุได้
เกลือแร่ในกุ้งแห้ง
กุ้งแห้งมีแคลเซียมร่างกายคุณต้องการแคลเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่มากกว่าสารอาหารรองชนิดอื่นๆ และมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายที่สำคัญ และมีประโยชอย่างเช่นการรักษาสุขภาพกระดูก
สารอาหารในแคบหมู
แคบหมูมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ จึงใช้เป็นของคบเคี้ยวทางเลือกตามการควบคุมน้ำหนักแบบแอตกินส์ (Atkins diet) ทว่า แคบหมูมีไขมันและโซเดียมสูง ไขมันในแคบหมูนั้นทัดเทียมกับในมันฝรั่งทอด ขณะที่โซเดียมในแคบหมูซึ่งบริโภคแต่ละครั้งนั้นมีปริมาณมากกว่าที่ได้จากการบริโภคมันฝรั่งทอดครั้งหนึ่ง ๆ ถึงราวห้าเท่า นิตยสาร เมนส์เฮลธ์ (Men's Health) ประเมินว่า การบริโภคแคบหมูครั้งละยี่สิบแปดกรัม (หนึ่งออนซ์) จะได้โปรตีนมากกว่าและไขมันน้อยกว่าการบริโภคมันฝรั่งทอดถุงหนึ่งราวเก้าเท่า และร้อยละสี่สิบสามของไขมันแคบหมูนั้นไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นกรดโอเลอิก (oleic acid) อันเป็นไขมันที่เป็นผลดีต่อสุขภาพชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันมะกอก ขณะที่อีกร้อยละสิบสามของไขมันแคบหมูนั้นเป็นกรดสตีแอริก (stearic acid) อันเป็นไขมันอิ่มตัว แต่ไม่เป็นอันตราย เพราะไม่เพิ่มระดับคอเลสเทอรอล[1]
สารอาหารในมะนาวและประโยชน์ทางยา
มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย
มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว และยังสามารถมีฤทธิ์ในการกัดด้วยเป็นต้น
หอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นยารักษาโรค
หอมแดงมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง
สรรพคุณของพริกขี้หนูสด
· เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
· ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
· ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
· ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
· ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
· ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
· แก่น : ฝนทำยาแก้คัน
สรรพคุณขิง
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร [3]๑. แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตัวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
๒. แก้เจ็บคอ เสียงแหบ ใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนู กลัวคอแก้ เจ็บคอและเสียงแหบได้ โดยใช้พริกขี้หนูป่น ๑ หยิบมือเติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออ่น ใช้น้ำกลัวคอ
๓. ช่วยขับลม แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
๔. แก้ปลาดุกยัก ใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม ไม่ฟกช้ำด้วย
๕. แก้เท้าแตก ใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก ใส่ลงไปด้วย
๖. แก้บวม ใบพริกขี้หนู บดผสมนำมะนาว พอกบริเวณที่บวม
๗. รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
๘. ใบ้ใบเป็นอาหาร ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก บำรุง ประสาท
๙. แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด ใช้พริกขี้หนูแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
๑๐. มดคันไฟกัด ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล
สารอาหารในเต้าเจี้ยว
เต้าเจี้ยวเป็นสารชูรสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจาก เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เต้าเจี้ยวยังอุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด สารชูรสและกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
เต้าเจี้ยวมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า
สารอาหารในถั่วเหลือง
สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้ง จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 ดี อี เค และไนอะซีน จะพบวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
สรรพคุณทางยาของใบชะพู
· ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
· ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
· ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
· ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม