วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงานบรูณาการเศรษฐกิจพอเพียง"เมี่ยงคำเมืองตาก"


  ชื่อโครงงาน  โครงงานบรูณาการเศรษฐกิจพอเพียง"เมี่ยงคำเมืองตาก"
    ที่มาและความสำคัญ
    ลักษณะของสิ่งมีชีวิตมีหลายประการอย่างเช่น การหายใจ การเคลื่อนไหว การรับรู้ความรู้สึกและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานอาหาร  ในชีวิตของเราตั้งแต่เป็นทารกเราก็ต้องการอาหารเมื่อเราโตมาเราก็ยังต้องการอาหารส่วนใหญ่เราก็จะต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่จึงจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น 1.คาร์โบไฮเดรต 2.โปรตีน 3.เกลือแร่ 4.วิตามิน 5.ไขมัน ที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงและเจริญเติบโต ด้วยเหตุนี้เราจึงเลือกเมี่ยงคำเพราะเมี่ยงคำมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเราและสมุนไพรในเมี่ยงคำยังช่วยสร้างสมดุลภายในร่างกายของเราอีกด้วย เมี่ยง เต้าเจี้ยว บางทีก็เรียกกันว่า เมี่ยงคำเมืองตาก หรือ เมี่ยงจอมพล ที่เรียกว่าเมี่ยงจอมพลเนื่องจาก ในอดีตทุกครั้งที่ จอมพลถนอม กิตติขจร มาเมืองตาก จะต้องไปกินเมี่ยงชนิดนี้ที่ร้านคุณป้าคนหนึ่งเป็นประจำ จนชาวบ้านพากันเรียก ''เมี่ยงจอมพล
วัตถุประสงค์       1.เพื่อเป็นการอนุรักษ์เมี่ยงคำที่เป็นอาหารพื้นเมืองของ จ.ตาก
                                2.เพื่อศึกษาสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการของสมุนไพรที่อยู่ในเมี่ยงคำ
                                3.เพื่อศึกษาการทำโครงงานเมี่ยงคำเมี่ยงคำเมืองตาก
                                4.เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
ประโยชน์ของเมี่ยงคำ   
คุณค่าทางโภชนาการ
ส่วนประกอบของเมี่ยงคำ
1.ใบชะพลู                 2.มะพร้าว                  3.มะนาว                    4.ถั่วลิสง
5.พริกขี้หนู                6.น้ำเต้าเจียว             7.ขิง                            8.กระเทียม
ประเภทของสารอาหาร
ส่วนประกอบของเมี่ยงคำ
โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต
วิตามิน
ไขมัน
ใบชะพลู
มะพร้าว
มะนาว
ถั่วลิสง
พริกขี้หนู
น้ำเต้าเจียว
ขิง
กระเทียม

คุณค่าทางอาหาร
สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ จากการวิจัยของทีมวิจัยสถาบันวิจัยโภชนาการพบว่า ถ้ากินเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง แล้วคนคนหนึ่งจะกินประมาณ ๘ คำ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักของเมี่ยงคำเป็น ๑๐๐ กรัม หรือ ๑ ขีด ดังนั้นคุณค่า ทางโภชนาการของเมี่ยงคำที่นำเสนอในตารางประกอบข้างต้น เป็นคุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ ต่อ ๑๐๐ กรัม หรือเท่ากับเมี่ยงคำ ๘ คำ เมี่ยงคำจึงจัดว่าเป็นอาหารว่างพลังงานสูงทีเดียว กิน ๘ คำ ให้พลังงาน ๓๒๐ กิโลแคลอรี ทั้ง นี้พลังงานส่วนใหญ่มาจากไขมัน ซึ่งได้จากมะพร้าวคั่ว และน้ำตาลในน้ำเมี่ยงคำ ปริมาณไขมันที่ได้จาก เมี่ยงคำ ๘ คำ ๑๖.๙ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของปริมาณไขมัน ที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน ส่วนปริมาณโปรตีนจำนวน ๘.๔ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๑๗ ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน นอกจากนี้สิ่งที่ได้จากการกินเมี่ยงคำ คือ ใยอาหารจะได้ค่อนข้างดี คือ  ๗.๓ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของ ปริมาณใยอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน ปริมาณโคเลสเตอรอลจัดว่ามีไม่สูง โคเลสเตอรอลมาจาก กุ้งแห้งและกุ้งแห้งป่น ในน้ำเมี่ยงคำ ปริมาณโซเดียม ๔๔๑ มิลลิกรัม ที่มีอยู่ในเมี่ยงคำ ๘ คำ จัดว่าสูง ปานกลาง ซึ่งจะได้จากกะปิ และน้ำปลา ส่วนปริมาณแคลเซียม ๙๒ มิลลิกรัมและปริมาณเหล็ก ๓.๑ มิลลิกรัม ก็ถือว่ามีอยู่ไม่สูงนัก
โดยสรุปแล้วเมี่ยงคำเป็นอาหารว่างไทยที่ควรให้ความสนใจ ควรกลับมาบริโภคกัน เพราะนอกจากให้ประโยชน์ ทั้งคุณค่าสารอาหารแล้ว ยังได้ประโยชน์จากสารพฤกษเคมีจากพืชสมุนไพร เช่น ขิง มะนาว หอมแดง ใบชะพลู ซึ่งทางทีมวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ คงจะมีโอกาสนำมาเสนอในภายหน้า
ขั้นตอนการทำ      1. วางเเผน
                                2.แบ่งงานกันทำ
                                3.รวบรวมข้อมูล
                                4.เรียบเรียงข้อมูล
                                5.เสนอให้ครูตรวยสอบ
                                6.เเก่ไขข้อมูล
                                7.นำเสนอโครงงา
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างสำหรับคนในราชนิกุลสมัยก่อน เพราะเครื่องเคียงที่นำมาปรุงนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ฝีมือในการหั่น การซอย และการจัดเรียงที่ประณีตทั้งสิ้นตามที่ได้อ่านจากประวัติความเป็นมาว่าในสมัยก่อนจะมีข้าราชบริพารในรั้วในวังมากมาย และการที่จะจัดตั้งเครื่องเสวย หรือการจัดอาหารถวายก็พยายามคัดสรรเมนูที่ต้องให้แปลก ใช้ฝีมือประดิดประดอย และต้องอร่อยดังนั้นเมนู เมี่ยงคำ เป็นเมนูที่ได้แสดงออกถึงฝีมือที่ประณีต
สรรพคุณของมะพร้าวในตำรายาไทย
เปลือกต้นสด แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
เนื้อมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ
น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก
น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก ทาผิวหนังแตกแห้ง และใช้ทาผม
กะลา เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต แก้ปากเปื่อย
ประโยชน์ของสารอาหารที่มีในข้าว  สารอาหารและ ประโยชน์1. คาร์โบไฮเดรทข้าวมีคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 75-80 ซึ่งอยู่ในรูปแป้ง (Starch) ที่เหลืออีกเล็กน้อยเป็น ซูโครส (Sucrose) และเด็กซ์ตริน (Dextrin) คาร์โบไฮเดรทที่ได้จากข้าวนี้ ร่างกายสามารถย่อยและนำไปใช้เป็นพลังงานได้เกือบทั้งหมด
2. โปรตีน
ในข้าวมีโปรตีนประมาณร้อยละ 7 ซึ่งนับว่าน้อยเนื่องจากคนไทยบริโภคข้างเป็นอาหารหลัก คือบริโภคประมาณวันละ 400 กรัม (ข้าวสาร) ทำให้ได้โปรตีนถึง 28 กรัม โปรตีนในข้าวเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เพราะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ ไลซีน (Lysine) ดังนั้นจึงควรบริโภคข้าวร่วมกับอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งทำให้ได้โปรตีนสมบูรณ์ที่สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ไขมันไขมันที่ได้จากข้าวเป็นไขมันที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีปริมาณกนดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง (Linoleic acid และ Oleic acid) ซึ่งช่วยในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดและช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก ไขมันในเม,ดข้าวนี้เมื่อผ่านกรมมวิธีการขัดสีจะหลุดไปอยู่ในส่วนของรำเกือบหมด มีติดเมล็ดเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้น
4. วิตามิน เกลือแร่วิตามินและเกลือแร่ในข้าว จะอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและที่จมูกข้าวหรือคัพภะ วิตามินที่พบมาก คือ บี 1 บี 2 และไนอาซีน ซึ่งช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท ส่วนเกลือแร่ที่พบในข้าวคือ เหล็ก ซึ่งช่วยในการสร้างเมล็ดเลือดแดง และฟอสฟอรัสที่ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน วิตามินและเกลือแร่ในข้าวจะหลุดออกไปเกือบหมดในระหว่างการขัดสีจนเป็นข้าว เมล็ดข้าว ดังนั้น เพื่อให้ได้วิตามิน และเกลือแร่จากข้าว จึงควรเลือกบริโภคข้าว ประเภทข้าวนึ่งก่อนสี หรือข้าวที่ผ่านการขัดสีเพียงเล็กน้อย เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวกล้อง
คุณค่าของถั่วลิสง
ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางการบำรุงร่างกายสูงกล่าวกันที่ช่วยให้มีอายุยืน จนได้รับสมญานามว่า พืชอายุวัฒนะ ถั่วลิสงมีโปรตีนสูงประมาณ ๓๐% จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั้น ปริมาณโปรตีนในถั่วลิสงสูงกว่าในข้าวสาลี ๑ เท่า สูงกว่าข้าว ๓ เท่า เมื่อเทียบกับไข่ไก่ นมวัว เนื้อสัตว์แล้ว ก็ไม่ด้อยกว่ากัน ในถั่วลิสงเป็นโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดชึมไปใช้ได้ง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึง ๙๐% นอกจากนี้ ถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ๘ ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน วิตามิน บี ๒ โคลีน (choline) กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน (Methionine) และวิตามิน เอ-บี-อี-เค แคลเชียม เหล็ก และธาตุอื่นๆ
การบริโภคน้ำมันถั่วลิสงเป็นประจำ จะทำให้โคเลสเตอรอลในตับสลายตัวเป็นกรดน้ำดี (
bileacid) ไม่เพียงแต่ลดโคเลสเตอรอลลงเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจของคนในวัยกลางวันและวัยสูงอายุได้
เกลือแร่ในกุ้งแห้ง
กุ้งแห้งมีแคลเซียมร่างกายคุณต้องการแคลเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่มากกว่าสารอาหารรองชนิดอื่นๆ และมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายที่สำคัญ และมีประโยชอย่างเช่นการรักษาสุขภาพกระดูก
สารอาหารในแคบหมู
แคบหมูมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ จึงใช้เป็นของคบเคี้ยวทางเลือกตามการควบคุมน้ำหนักแบบแอตกินส์ (Atkins diet) ทว่า แคบหมูมีไขมันและโซเดียมสูง ไขมันในแคบหมูนั้นทัดเทียมกับในมันฝรั่งทอด ขณะที่โซเดียมในแคบหมูซึ่งบริโภคแต่ละครั้งนั้นมีปริมาณมากกว่าที่ได้จากการบริโภคมันฝรั่งทอดครั้งหนึ่ง ๆ ถึงราวห้าเท่า นิตยสาร เมนส์เฮลธ์ (Men's Health) ประเมินว่า การบริโภคแคบหมูครั้งละยี่สิบแปดกรัม (หนึ่งออนซ์) จะได้โปรตีนมากกว่าและไขมันน้อยกว่าการบริโภคมันฝรั่งทอดถุงหนึ่งราวเก้าเท่า และร้อยละสี่สิบสามของไขมันแคบหมูนั้นไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นกรดโอเลอิก (oleic acid) อันเป็นไขมันที่เป็นผลดีต่อสุขภาพชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันมะกอก ขณะที่อีกร้อยละสิบสามของไขมันแคบหมูนั้นเป็นกรดสตีแอริก (stearic acid) อันเป็นไขมันอิ่มตัว แต่ไม่เป็นอันตราย เพราะไม่เพิ่มระดับคอเลสเทอรอล[1]
สารอาหารในมะนาวและประโยชน์ทางยา

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย
มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว และยังสามารถมีฤทธิ์ในการกัดด้วยเป็นต้น
หอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นยารักษาโรค
หอมแดงมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง
สรรพคุณของพริกขี้หนูสด
·         เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
·         ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
·         ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
·         ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
·         ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
·         ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
·         แก่น : ฝนทำยาแก้คัน
สรรพคุณขิง
ขิงยังมี
สารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร [3]
๑. แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตัวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
๒. แก้เจ็บคอ เสียงแหบ ใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนู กลัวคอแก้ เจ็บคอและเสียงแหบได้ โดยใช้พริกขี้หนูป่น ๑ หยิบมือเติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออ่น ใช้น้ำกลัวคอ
๓. ช่วยขับลม แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
๔. แก้ปลาดุกยัก ใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม ไม่ฟกช้ำด้วย
๕. แก้เท้าแตก ใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก ใส่ลงไปด้วย
๖. แก้บวม ใบพริกขี้หนู บดผสมนำมะนาว พอกบริเวณที่บวม
๗. รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
๘. ใบ้ใบเป็นอาหาร ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก บำรุง ประสาท
๙. แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด ใช้พริกขี้หนูแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
๑๐. มดคันไฟกัด ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล
สารอาหารในเต้าเจี้ยว
เต้าเจี้ยวเป็นสารชูรสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจาก เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เต้าเจี้ยวยังอุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด สารชูรสและกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
เต้าเจี้ยวมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า
สารอาหารในถั่วเหลือง
สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้ง จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 ดี อี เค และไนอะซีน จะพบวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
สรรพคุณทางยาของใบชะพู
·         ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
·         ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
·         ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
·         ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม
 

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 ประการ

ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 ประการ

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงผลกระทบจากการบุกรุกทำลายป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้ง พื้นที่ต้นนํ้าลำธารเสื่อมโทรม ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นปัญหาทุกข์ร้อนของประชากรส่วนใหญ่ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ให้คืนกลับสู่สภาพธรรมชาติด้วยแนวทางผสมผสาน โดยการปลูกไม้ทดแทนควบคู่กับการพัฒนาอาชีพราษฎร
ด้วยการวางแผนร่วมมือกันของทุกส่วนราชการ ในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อม
         การปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 ประการ ตามแนวพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน
พระราชดำริ ไว้เมื่อปี 2519 ณ หน่วยพัฒนาต้นนํ้าทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าการปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล
ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชนอันเป็นทฤษฎีการปลูกต้นไม้ลงในใจคน โดยการปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนให้ปลูกต้นไม้ลงแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง
         
และในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นนํ้าตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เพื่อศึกษาหารูปแบบในการพัฒนาที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นนํ้าลำธารนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริ แนวทางในการปลูกไม้ฟื้นฟูสภาพป่าต้นนํ้าว่า การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ให้ปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ หรือ ไม้ผล
ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืน ซึ่งจะให้ประโยชน์ 4 ประการ คือ ได้ใช้สอยและเศรษฐกิจ ไม้ฟืน ไม้กินได้ และประการสุดท้าย คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นนํ้าลำธารด้วย
         
ประเภทไม้ 3 อย่างที่เหมาะสมแก่การใช้ปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นให้ใช้พันธุ์ไม้ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพราะเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อยู่แล้ว ไม่เป็นการเสี่ยงต่อภาวะการรอดตายและการเจริญเติบโต เป็นและที่รู้จักของราษฎรในท้องถิ่นอย่างดี พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูกไม้ป่าดังกล่าว ควรเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเสื่อมโทรม หรือเป็นบริเวณป่าเพื่อการพึ่งพิงของราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้ๆหมู่บ้าน วิธีการปลูกก็ให้ปลูกเสริมในลักษณะธรรมชาติ โดยไม่จับต้นไม้เข้าแถว ซึ่งการปลูกเสริมตามลักษณะธรรมชาตินี้ เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็จะมีสภาพเป็นป่าตามธรรมชาติ โดยจะไม่มี
ลักษณะเป็นสวนป่าที่มีต้นไม้เรียงเป็นแถว
 
ไม้ 3 อย่าง
         ลักษณะไม้ 3 อย่าง เป็นชนิดไม้ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับวิถีชีวิตของชุมชน คือ
         
1. ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์
เครื่องมือในการเกษตร เช่น เกวียน คันไถ ด้ามจอบ เสียม และมีด รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักรสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อนำไปใช้นำครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชน ได้แก่ มะขามป่า สารภี ซ้อ ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง มะแฟน สัก ประดู่ กาสามปีก จำปี จำปา ตุ้ม ทะโล้ หมี่ ยมหอม กฤษณา นางพญาเสือโคร่ง ไก๋ คูณ ยางกราด กระถิน เก็ดดำ มะหาด ไม้เติม มะห้า มะกอกเกลื้อน งิ้ว ตีนเป็ด ยมหอม มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว บุนนาค ปีบ ตะแบก ตอง คอแลน รัง เต็ง แดง พลวง พะยอม ตะเคียน ฮักหลวง เป็นต้น 
         2. ไม้ฟืนเชื้อเพลิงของชุมชน ชุมชนในชนบทต้องใช้ไม้ฟืน เพื่อการหุงต้มปรุงอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว
สุมควายตามคอก ไล่ยุง เหลือบ ริ้น ไร รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการอบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด ไม้ฟืนมีความ
จำเป็นที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดีไม้ธรรมชาติที่มีอยู่จะไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ ความอัตคัดขาดแคลนจะเกิดขึ้น
ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ ไม้หาด สะเดา
เป้าเลือด มะกอกเกลื้อน ไม้เต้าหลวง กระท้อน ขี้เหล็ก ตีนเป็ด ยมหอม ลำไยป่า มะขม ดงดำ มะแขว่น สมอไทย ตะคร้อ
ต้นเสี้ยว บุนนาค ตะแบก คอแลน แดง เต็ง รัง พลวง ติ้ว หว้า มะขามป้อม แค ผักเฮือด เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน กาสามปีก มันปลา นางพญาเสือโคร่ง มะมือ ลำไย รกฟ้า ลิ้นจี่ 
         3. ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งการไล่ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัย การปลูกไม้ที่สามารถให้หน่อ
ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้ก็จะทำให้ชุมชนมีอาหารและสมุนไพร ในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน ได้แก่ มะหาด ฮ้อสะพายควาย เป้าเลือด บุก กลอย งิ้ว กระท้อน ขี้เหล็ก มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว คอแลน ผักหวานป่า มะไฟ มะขามป้อม มะเดื่อ มะปีนดง เพกา แค สะเดา เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน มะเม่า หวาย ดอกต้าง กระถิน
ก่อเดือย หว้า กล้วย ลำไย มะกอกเกลื้อน มะระขี้นก ประคำดีควาย ตะคร้อ กระบก ผักปู่ย่า มะเฟือง แคหางค่าง ขนุน มะปราง มะหลอด คอแลน มะเม่า ส้มป่อย
ประโยชน์ 4 ประการ
         ไม้ 3 อย่าง เมื่อปลูกไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ 4 ประการ คือ
         
1. ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอยและสามารถนำมาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่มากพอ ชุมชนก็สามารถนำมาเสริมสร้างอาชีพเสริมได้ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น
         2. ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชน หากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรมครัวเรือน ชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้ม หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
         3. พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์แมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งถ้ามีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
     4. เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่าด้วยพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและนํ้า รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ต้นนํ้าลำธาร
 
 

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
     จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้ 1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร 2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

fine fine fine

แนะนำเจ้าของบล็อก

ชื่อ เด็กหญิงปัทมา   สาคร   
ศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนตากพิทยาคม  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก
อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5  เลขที่ 31
เกิดวัน พุธ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2541
บ้านเลขที่ 236 หมู่ 7  ตำบลสมอโคน อำเภอบ้านตาก  จังหวัดตาก
ชอบสี ฟ้า
ชอบทานอาหารทะเล
ชอบผลไม้ สับปะรด แตงโม มังคุด
ชอบเล่นกีฬา แบทมินตัน  กีฑา
รายวิชา  การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พุธชาติ  มั้นเมือง